ค้นเจอ 121 รายการ

หงับ ๆ

หมายถึงว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.

หงุงหงิง,หงุง ๆ หงิง ๆ

หมายถึงว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.

เงียบ

หมายถึงว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตาก เช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็นข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.

หอบหืด

หมายถึงก. อาการหายใจไม่สะดวก มีเสียงหวีดหวือ เนื่องจากหลอดลมหดเกร็ง มักเกิดในผู้ป่วยโรคหืด.

เสียงดี

หมายถึงน. เสียงเพราะ; โดยปริยายหมายถึงคะแนนเสียงหนาแน่น เช่น เขาเป็นนักการเมืองที่มีคนนิยมมาก ลงสมัครรับเลือกตั้งแต่ละครั้งมีเสียงดีเสมอ.

บังคับลหุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.

ไอกรน

หมายถึงน. โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง พบในเด็กที่มีไข้ ไอมาก และมักมีเสียงเกิดจากการหายใจที่ลำบากตามหลังอาการไอ.

หนุบ,หนุบ ๆ

หมายถึงว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ; อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.

หงุบหงับ

หมายถึงว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยวอาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.

กัณฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺวฺย).

ระนาดทุ้ม

หมายถึงน. ระนาดที่มีเสียงต่ำกว่าและมีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่ใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวน ด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว.

ไม้นวม

หมายถึงน. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ