ตัวกรองผลการค้นหา
ภัณฑาคาร
หมายถึง[พันดาคาน, พันทาคาน] น. โรงไว้ของ, คลังเก็บของ. (ป.).
ตะลุง
หมายถึงน. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
สาธารณประโยชน์
หมายถึงน. ประโยชน์ทั่วไปแก่ประชาชน เช่น บริจาคเงินสร้างโรงพยาบาลเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์.
กุดัง
หมายถึง(ปาก) น. โรงเก็บสินค้าหรือสิ่งของเป็นต้น, โกดัง ก็เรียก; เรียกรถบรรทุกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งว่า รถกุดัง. (ม. gudang ว่า โรงงาน, โรงเก็บของ, ร้านขายของ).
พ่อบ้าน
หมายถึงน. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น.
ออกงาน
หมายถึงก. ไปปรากฏตัวในงานสังคม; (โบ) แสดงแก่ประชาชนหรือสังคมครั้งแรก (ใช้แก่วงมหรสพ โขน ละคร สตรีสาว).
เป็นความ
หมายถึงว. มีคดีพิพาทหรือฟ้องร้องกันในโรงศาล. (ปาก) ก. สู้คดี, สู้ความ.
ดับจิต
หมายถึงก. ตาย. (ปาก) น. เรียกห้องเก็บศพของโรงพยาบาลว่า ห้องดับจิต.
นั่งราว
หมายถึงว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจำที่บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
ราชวโรงการ
หมายถึง[-วะโรงกาน] น. คำสั่งของพระราชา. (ป. ราช + วร + ข. โองฺการ).
ครัว
หมายถึง[คฺรัว] น. โรง เรือน หรือห้องสำหรับทำกับข้าวของกิน, เรียกผู้ที่อยู่กินร่วมครัวกัน.
นอนโรง
หมายถึงก. นอนค้างคืนล่วงหน้าที่โรงก่อนกำหนดงาน (ใช้แก่โขนเป็นต้น) เช่น โขนนอนโรง.