ค้นเจอ 142 รายการ

กิเลน

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตำราของจีนว่า หัวเป็นมังกร มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง.

คชลักษณ์

หมายถึงน. รูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว, ประเภทตำราแสดงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณหรือโทษแก่เจ้าของ.

กระกลับกลอก

หมายถึง(กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตำราช้างคำฉันท์).

กระจอก

หมายถึง(โบ) น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้า เล็กลาน หล็อนแฮ. (ตำราช้างคำโคลง). (ข. กฺรจก ว่า เล็บ).

ดอกดั้ว

หมายถึง(โบ) น. นมผู้หญิง, ผู้หญิง; เขาสัตว์ที่นิยมว่าเป็นของวิเศษ (คุ้มไฟไหม้บ้าน) เช่น เขาวัวบางชนิด ในตำราเขาพระโค เรียกว่า เขาดอกดั้ว.

ตรีผลา

หมายถึง[-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตำรายาไทย หมายเอา สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).

เข้าตู้

หมายถึง(ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า “วิชาเข้าตู้” ซึ่งหมายความว่า วิชาที่เคยจำได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ในตำราที่เก็บไว้ในตู้.

ตรีสาร

หมายถึงน. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓ อย่าง เป็นคำแพทย์ใช้ในตำรายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู. (ส.).

ที่พึ่ง

หมายถึงน. ผู้คุ้มครองช่วยเหลือ เช่น พ่อแม่เป็นที่พึ่งของลูก, สิ่งที่อาศัยยึดเป็นหลัก เช่น ได้ตำราเป็นที่พึ่ง, เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ เช่น ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.

ลมตะกัง

หมายถึงน. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.

กระษัย

หมายถึง[-ไส] น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).

ไวยากรณ์

หมายถึงน. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตำราไวยากรณ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ