ตัวกรองผลการค้นหา
เปตพลี
หมายถึง[เปตะพะลี, เปดตะพะลี] น. เครื่องเซ่นสรวงที่กระทำให้แก่ผู้ตายไปแล้ว. (ป.).
สารภาพ
หมายถึง[สาระพาบ] ก. รับว่ากระทำผิด เช่น จำเลยสารภาพว่าขโมยของไปจริง; บอกความในใจ เช่น สารภาพรัก.
อัดอั้น,อัดอั้นตันใจ
หมายถึงก. เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่สามารถพูดหรือกระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน.
ตรียัมปวาย
หมายถึง[ตฺรียำปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทำในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
ทัณฑวิทยา
หมายถึง[ทันทะ-] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา. (อ. penology).
การประกอบโรคศิลปะ
หมายถึง(กฎ) น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ.
คำมั่นว่าจะให้รางวัล
หมายถึง(กฎ) น. คำมั่นที่บุคคลออกโฆษณาว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทำการอันใดสำเร็จดังที่บ่งไว้ในคำมั่น.
ทุกพาย
หมายถึง(โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
ประท้วง
หมายถึงก. กระทำการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้านเพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.
ปฏิบัติ
หมายถึงก. ดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทำตาม เช่น ปฏิบัติตามสัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติรับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
กรณี
หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทำ).
กัน
หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทำร่วมกัน อย่างเดียวกัน หรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน.