ตัวกรองผลการค้นหา
โมกษะพยาน
หมายถึง(กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนาซึ่งไม่จำต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยานก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้.
วัตถุวิสัย
หมายถึงว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบตายตัว ว่าการสอบแบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
สนอง
หมายถึง[สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนองโครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้ตอบ เช่น กรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขายสนองซื้อ. (ข. สฺนง).
เสียกำซ้ำกอบ,เสียกำแล้วซ้ำกอบ
หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
หืด
หมายถึงน. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทำให้หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.
สงสัย
หมายถึงก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็นขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).
เกริ่น
หมายถึง[เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
ไปรษณียภัณฑ์
หมายถึง[ไปฺรสะนียะพัน, ไปฺรสะนีพัน] น. ข่าวสารหรือสิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ มีขนาดเล็กและมีนํ้าหนักน้อยกว่าพัสดุไปรษณีย์; (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับหนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็คไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นำมาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
ยัง
หมายถึงคำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
จุด
หมายถึงน. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น, เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็นสำคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบไม่ตรงจุด. ก. ทำเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้; ทำให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.
ตรึก
หมายถึง[ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
ยืนโรง
หมายถึงน. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจำ เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้างหรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจำโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอดรายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง).