ตัวกรองผลการค้นหา
มาตราพฤติ
หมายถึงน. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
มาตฤกะ
หมายถึง[-ตฺริกะ] ว. มาจากแม่หรือเกี่ยวกับแม่, ข้างแม่, ฝ่ายแม่. (ส.).
มาตสรรย์
หมายถึง[มาดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา; ใช้ว่า มัตสรรย์ ก็มี. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
มาตามหะ
หมายถึง[มาตามะหะ] (ราชา) น. ตา คือ พ่อของแม่. (ป., ส.).
มาติกา
หมายถึง[มาดติกา] น. บาลีที่เป็นแม่บท เช่น สวดมาติกา, แม่บท; เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.; ส. มาตฺฤกา).
มาน
หมายถึงก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
มานะ
หมายถึงน. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
มานัส
หมายถึงน. ใจ. ว. เกี่ยวกับใจ. (ป., ส. มานส).
มานุษ,มานุษย-
หมายถึง[มานุด, มานุดสะยะ-] น. คน, เพศคน. ว. เกี่ยวกับคน, ของคน. (ส.).
มาโนชญ์
หมายถึง[-โนด] ว. มโนชญ์, เป็นที่พอใจ, งาม. (ส.).
มาร,มาร-
หมายถึง[มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
มารค
หมายถึง[มาก] น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).