ตัวกรองผลการค้นหา
ธรรมานุสาร
หมายถึง[ทำมา-] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
บรรสาร
หมายถึง[บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาร) ก. คลี่ออก.
ปาณสาร
หมายถึงน. กำลังอันว่องไวหรือประเปรียว. (ป.; ส. ปฺราณสาร).
แป้งสารภี
หมายถึง[-สาระพี] น. แป้งที่เอาเกสรสารภีตำปนกับแป้งสำหรับทาตัว.
มสารคัล
หมายถึง[มะสาระคัน] น. แก้วลาย, เพชรตาแมว. (ป. มสารคลฺล; ส. มสารคลฺว).
วัฏสงสาร
หมายถึงน. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ สังสารวัฏ ก็ว่า. (ป.).
สงสาร
หมายถึง[สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
สสารนิยม
หมายถึงน. วัตถุนิยม.
สารตรา
หมายถึง[สาน-] (กฎ; โบ) น. หนังสือราชการที่เชิญพระบรมราชโองการซึ่งประทับตราใหญ่; หนังสือราชการที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงลงชื่อและประทับตรากระทรวงส่งไปยังหัวเมือง ซึ่งในสมัยต่อมาเรียกว่า ท้องตรา.
สารถี
หมายถึง[สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่า ผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).
สารบัญ
หมายถึง[สาระ-] น. บัญชีเรื่อง, รายชื่อเรื่อง. (ตัดจาก สารบัญชี และ สารบาญชี).
สารประโยชน์
หมายถึง[สาระ-] น. ประโยชน์ที่เป็นแก่นสาร เช่น สารประโยชน์ของกฎหมายฉบับนี้ เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของประชาชน, สารัตถประโยชน์ ก็ว่า.