ค้นเจอ 140 รายการ

สัพยอก

หมายถึง[สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่งตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.

สีสา

หมายถึง(ปาก) ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย.

เลื่อนลอย

หมายถึงว. ไม่คงที่, ไม่แน่นอน, เช่น ความฝันเลื่อนลอย พูดจาเลื่อนลอยไม่มีหลักฐาน สติเลื่อนลอย ข้อกล่าวหาเลื่อนลอย.

สามหาว

หมายถึงว. หยาบคาย, โอหังก้าวร้าวผู้หลักผู้ใหญ่, (ใช้แก่วาจา) เช่น เด็กพูดจาสามหาวกับผู้ใหญ่.

เย็นหู

หมายถึงว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวลฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.

กระอักกระไอ

หมายถึงว. อิดเอื้อน, ไม่กล้าพูด, ทำเสียงไออุบอับอยู่ในคอ, เช่น พูดจากุกกักกระอักกระไอ. (ไกรทอง).

ปากหวาน

หมายถึงว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.

ยามา

หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.

ปะเหลาะ,ปะเหลาะปะแหละ

หมายถึงก. พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ เช่น ผู้ใหญ่ปะเหลาะเด็ก, พูดหรือทำสนิทชิดชอบให้เขาพึงใจเพื่อหวังประโยชน์ตน.

ลองดี

หมายถึงก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิงดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่ ล้วงคองูเห่าด้วยการลองดีกับตำรวจ.

ลับปาก,ลับฝีปาก

หมายถึงก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปากไว้คอยท่า. (ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว.

ลาข้าวพระ

หมายถึงก. ทำพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสำรับพระพุทธ โดยยกมือประนมกล่าวคำว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสำรับออกมา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ