ค้นเจอ 336 รายการ

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

ตะแก,ตะแก่

หมายถึงน. ตัวแก เช่น ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย. (สังข์ทอง).

เมรุมาศ

หมายถึง[เมรุมาด] น. เมรุทอง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ.

กรีฑากร

หมายถึงก. ทำกรีฑา เช่น ปางกรีฑากร อนงค์ในแท่นทอง. (สมุทรโฆษ).

ยกหยิบ

หมายถึง(กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).

กลดกำมะลอ

หมายถึงน. ร่มชนิดหนึ่ง พื้นขาวโรยทองเป็นเครื่องยศ.

รู่

หมายถึงก. ครูด, ถู, สี, เช่น อย่าเอาทองไปรู่กระเบื้อง.

ล้วน,ล้วน ๆ

หมายถึงว. แท้, เป็นอย่างเดียวกันหมด, ไม่มีอะไรปน, เช่น ทองล้วน เงินล้วน ๆ.

กระบวนกระบิด

หมายถึง(กลอน) น. ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง. (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า.

เงินทองตรา

หมายถึง(โบ) น. เงินตราที่ทำด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ.

กะไหล่

หมายถึงน. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบนโลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทองด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).

ลายน้ำทอง

หมายถึงน. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือเขียนสีบนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่นจาน ชาม กระโถน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ