ค้นเจอ 118 รายการ

วู่วาม

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือทำอย่างรีบร้อนโดยไม่ใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน, ขาดสติ, หุนหันพลันแล่น, เช่น อารมณ์วู่วาม ทำไปอย่างวู่วาม.

อสุภกรรมฐาน

หมายถึง[-กำมะถาน] น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร. (ป. อสุภกมฺมฏฺาน).

สะอิดสะเอียน

หมายถึงก. ชวนให้คลื่นไส้อย่างรุนแรง ทั้งโดยตรงและโดยปริยายต่อสิ่งที่เร้าเร่งให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น เช่น เห็นหมาเน่าแล้วสะอิดสะเอียน เห็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วสะอิดสะเอียนไม่อยากเข้าใกล้.

ภวังค,ภวังค-,ภวังค์

หมายถึง[พะวังคะ-] น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.); ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว.

เอ้อเร้อเอ้อเต่อ

หมายถึงว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทำอะไรก็ไม่ทำเสียที; มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อ ก็ว่า.

เพ่ง

หมายถึงก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะอารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.

หน้าบูด

หมายถึงว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูดเพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.

รูปฌาน

หมายถึง[รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.

ทอดหุ่ย

หมายถึง(ปาก) ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องตามราว, อาการที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำนอน ว่า นอนทอดหุ่ย.

ธรรมายตนะ

หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).

ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

หมายถึง(สำ) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).

ไฟสุมขอน

หมายถึงน. ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่มอยู่ในใจ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ