ตัวกรองผลการค้นหา
นางรม
หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรี มีสีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็นสีเทา เปลือกด้านล่างโค้งเล็กน้อยยึดติดกับวัสดุที่เกาะ นิยมใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด Saccostrea forskali, อีรม ก็เรียก.
รม
หมายถึงก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อยรมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้นเกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.
เฉลียบ
หมายถึง[ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Isognomon isognomum ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน ขอบด้านบนค่อนข้างเป็นแนวตรง ขอบด้านล่างโค้งเว้าทางด้านหน้า นูนทางด้านตรงข้าม สีเข้มเกือบดำ เกาะอยู่ตามรากไม้หรือหินในป่าชายเลน.
อุรังอุตัง
หมายถึงน. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนตามลำตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้นและค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอยและกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างพองห้อย นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัยอยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา (Pongo pygmaeus abeli) และพันธุ์บอร์เนียว (P. pygmaeus pygmaeus) มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวเท่านั้น.
ชีปะขาว
หมายถึงน. (๑) ชื่อแมลงที่เป็นผีเสื้อของหนอนกอข้าว อันได้แก่ชนิด Scirpophaga incertulas, Chilo suppressalis, Chilotraea polychrysa ในวงศ์ Pyralidae เป็นผีเสื้อกลางคืน เมื่อเกาะจะหุบปีกเป็นรูปหลังคาหุ้มตัว ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร ปีกและลำตัวสีเหลืองอ่อนคล้ายสีฟางข้าว มีเกล็ดละเอียดเหมือนฝุ่นปกคลุมตัว ที่หัวมีส่วนของปากยื่นยาวออกไปเป็นกลีบ ตาโตเห็นได้ชัด มักมาเล่นไฟ เกาะฝาเป็นกลุ่ม ตัวหนอนเป็นหนอนกอทำลายข้าว, ชีผ้าขาว ชีผะขาว หรือ สับปะขาว ก็เรียก. (ดู หนอนกอ). (๒) ชื่อแมลงในอันดับ Ephemeroptera มีลำตัวอ่อนมาก หนวดสั้นมองแทบไม่เห็น ปีกบางรูปสามเหลี่ยม มีเส้นปีกมากมาย เมื่อเกาะจะตั้งปีกตรงบนสันหลัง ที่ปลายท้องมีหางยาวคล้ายเส้นด้าย ๒-๓ เส้น ลำตัวและปีกสีขาว เช่น ชนิด Ephemera spp. ในวงศ์ Ephemeridae, ชี ก็เรียก.
บัวตูม
หมายถึงน. ชื่อพืชเบียนชนิด Rafflesia kerrii Meijer ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนรากไม้เถา ดอกตูมสีนวล ใช้ทำยาได้ เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแดงประเหลือง กลิ่นเหม็น, บัวผุด ก็เรียก.
ทมิฬ
หมายถึง[ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).
จันทน์เทศ
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Myristica fragrans Houtt. ในวงศ์ Myristicaceae รกหุ้มเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเรียก ดอกจันทน์ เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเช่นกัน เรียก ลูกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก.
หินทราย
หมายถึงน. หินชั้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลมหรือเหลี่ยมขนาดเม็ดทราย อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่าง ๆ ให้เกาะกันแน่นแข็ง มีสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว.
เกสร
หมายถึง[-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้; (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).
ปาด
หมายถึงน. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบก ในวงศ์ Rhacophoridae รูปร่างคล้ายเขียดแต่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ปลายนิ้วแบนช่วยในการเกาะ ทำกองฟองวางไข่ตามกิ่งไม้ชายนํ้า มีหลายชนิด เช่น ชนิด Rhacophorus leucomystax ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบิน (R. nigropalmatus), เขียดตะปาด ก็เรียก.
ยูริก
หมายถึงน. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C5H4N4O3 ลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีปรากฏอยู่เป็นจำนวนน้อยในปัสสาวะและในโลหิต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ คือมีอาการบวมปวดบริเวณข้อกระดูก จะปรากฏมีเกลือโซเดียมและโพแทสเซียมของกรดนี้เกาะอยู่ที่ข้อกระดูกนั้น ๆ เรียกว่า กรดยูริก.