ค้นเจอ 4,639 รายการ

อยู่ ๆ,อยู่ดี ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.

ขัช,ขัชกะ

หมายถึง[ขัด, ขัดชะกะ] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).

นัฏ,นัฏกะ

หมายถึง[นัด, นัดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).

มุณฑกะ,มุณฑะ

หมายถึง[มุนดะกะ, มุนดะ] ว. เกลี้ยง, โล้น, (ใช้แก่หัว). (ป., ส.).

ยาชกะ

หมายถึง[-ชะกะ] น. ผู้ที่ทำพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. (ป., ส.).

โยชกะ

หมายถึง[โยชะกะ] ก. ผู้ทำการประกอบ, ผู้ใช้, ผู้ผูก, ผู้จัด, ผู้เตรียม. (ส.).

หาสก,หาสกะ

หมายถึง[-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).

อันตกะ

หมายถึง[อันตะกะ] น. “ผู้ทำที่สุด” หมายถึง ความตาย คือ พระยม. (ป., ส.).

ประมาณการ

หมายถึงน. ปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายที่กะหรือกำหนดไว้อย่างคร่าว ๆ. ก. กะหรือกำหนดปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายไว้อย่างคร่าว ๆ เช่น ประมาณการในการก่อสร้าง.

จิตใจ

หมายถึงน. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.

จริง,จริง ๆ

หมายถึง[จิง] ว. แน่ เช่น ทำจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง.

เอกนัย

หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. นัยอันหนึ่ง, นัยอันเดียวกัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ