ค้นเจอ 142 รายการ

กระทด

หมายถึง(โบ) ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย. (ตำราช้างคำโคลง), ไม้กระทดกระทำทอน ทุกที่ กงนา. (โลกนิติ).

โคลงโบราณ

หมายถึงน. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งคล้ายโคลง ๔ มีบังคับสัมผัส แต่ไม่มีบังคับเอกโท เช่น โคลงมหาวิชชุมาลี โคลงมหาสินธุมาลี ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรากาพย์สารวิลาสินี.

กำราก,กำหราก

หมายถึงน. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กำรากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกำหรากเหลือลาม. (ตำราขี่ช้าง).

จันทร,จันทร-,จันทร์

หมายถึง[จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).

ตะกัง

หมายถึงน. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า.

ปะกัง

หมายถึงน. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า.

ตะพั้น

หมายถึงน. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากำ ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, สะพั้น ก็ว่า.

กล่อน

หมายถึง[กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นนํ้า เรียกว่า กล่อนนํ้า, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง.

สะพั้น

หมายถึงน. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากำ ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า.

กรามช้าง

หมายถึงน. ตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไกรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.

เกก

หมายถึงว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตำราช้างคำโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.

ลหุ

หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ