ค้นเจอ 549 รายการ

สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).

สารพัน

หมายถึง[สาระพัน] ว. สารพัด เช่น สารพันปัญหา, มักใช้เข้าคู่กัน เป็น สารพัดสารพัน ก็มี.

สูป,สูป-,สูปะ

หมายถึง[สูปะ-] น. ของกินที่เป็นนํ้า, แกง, ของต้มที่เป็นนํ้า, มักใช้เข้าคู่กับคำ พยัญชนะ เป็น สูปพยัญชนะ หมายความว่า กับข้าว. (ป., ส.).

แส้

หมายถึงน. ชื่ออุปกรณ์สำหรับปัดยุงหรือแมลง ทำด้วยขนหางม้า หรือทางจากที่ทุบปลายข้างหนึ่งเป็นเส้น เป็นต้น ลักษณะเป็นพู่ยาว มีด้าม; ชื่ออุปกรณ์สำหรับตีม้า ทำด้วยหวายหรือหนังสัตว์ถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว เรียกว่า แส้ม้า, ไม้หรือเหล็กกลมยาวสำหรับกระทุ้งดินในลำกล้องปืนให้แน่น เรียกว่า แส้ปืน; ใช้ประกอบกับคำ สาว เป็น สาวแส้ หมายความว่า หญิงสาว.

แสง

หมายถึงน. กางเกง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เสื้อ เป็น เสื้อแสง หมายความว่า เสื้อและกางเกง.

แส้จามรี

หมายถึงน. แส้ที่ทำด้วยขนหางจามรี เป็น ๑ ในเครื่องเบญจกกุธภัณฑ์.

โสฬส

หมายถึง[-ลด] ว. สิบหก. น. ชั้นพรหมโลก ๑๖ ชั้น ถือกันว่าเป็นที่มีสุขอย่างยอดยิ่ง; ตำราเล่นการพนันครั้งโบราณสำหรับเล่นหวย เล่นถั่ว; เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๑๖ อัน เป็น ๑ เฟื้อง, เรียกย่อว่า ฬส. (ป.).

หลอ

หมายถึงว. ใช้ประกอบกับคำ เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟันเป็นต้น ว่า ฟันหลอ.

หึง

หมายถึงก. หวงแหนทางชู้สาว, มักใช้เข้าคู่กับคำ หวง เป็น หึงหวง หรือ หวงหึง.

เหง

หมายถึง[เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ข่ม เป็น ข่มเหง.

เหย้า

หมายถึง[เย่า] น. เรือน, บ้านเรือน, ครอบครัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เรือน เป็น เหย้าเรือน, เขียนเป็น หย้าว ก็มี.

เหวง

หมายถึง[เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่า เบามาก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ