ค้นเจอ 385 รายการ

เกก

หมายถึงว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตำราช้างคำโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.

กะง้องกะแง้ง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ว. คดไปคดมา, งอไปงอมา.

กะเตง ๆ

หมายถึงว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่ไปอย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่.

เส

หมายถึงก. เฉ, ไถล, เช่น เสไปพูดเรื่องอื่น, เชือนแช เช่น เสความ.

กะเตงเรง

หมายถึงว. กะเตง ๆ.

ดีละ,ดีแล้ว

หมายถึงว. คำแสดงความพอใจก็ได้ คำแสดงความไม่พอใจเป็นเชิงประชดหรือแดกดันก็ได้.

โง่ง ๆ,โง่งเง่ง

หมายถึงว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง.

เรือกระแชง

หมายถึงน. เรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทำเป็นประทุน.

เผล,เผล้

หมายถึง[เผฺล, เผฺล้] ว. เฉ, ไม่ตรง, ไพล่, เช่น ใส่หมวกเผล้ไปข้างหนึ่ง.

ตระหง่อง,ตระหน่อง

หมายถึง[ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.

ประโดง

หมายถึงน. ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำเข้านาเข้าสวน เรียกว่า ลำประโดง, ลำกระโดง ก็ว่า.

อุจเฉท,อุจเฉท-

หมายถึง[อุดเฉด, อุดเฉทะ-] ก. ขาดสิ้น, สูญ. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ