ตัวกรองผลการค้นหา
บน
หมายถึงน. คำ เช่น ให้บนถ้อยคำ. (จินดามณี); คำที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คำให้การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น เอาบนเขาไว้, ให้คาดบนไว้. (สามดวง).
โวหาร
หมายถึงน. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).
สัมโมทนียกถา
หมายถึง[สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคำที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจแก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
ตีความ
หมายถึงก. ชี้หรือกำหนดความหมาย; ให้ความหมายหรืออธิบาย; ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนาและความมุ่งหมายเพื่อความถูกต้อง; (กฎ) วิเคราะห์ถ้อยคำหรือข้อความในบทกฎหมาย นิติกรรม สัญญา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย หรือที่มีความหมายไม่ชัดเจน เพื่อกำหนดความหมายอันแท้จริงของถ้อยคำหรือข้อความนั้น ๆ เช่น ตีความกฎหมาย.
พลิก
หมายถึง[พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลาพลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคำ.
สละสลวย
หมายถึง[สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย.
เอ๊ย
หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่าพูดผิดไปเป็นต้น. ว. คำลงท้ายชื่อหรือถ้อยคำเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๋ย ก็ว่า.
กระเสียน,-กระเสียน
หมายถึง(โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
เข้าตัว
หมายถึงก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคำที่ปรารถนาจะกระทำหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
สะกิดใจ
หมายถึงก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็รู้สึกสะกิดใจว่าเขาจะมาทวงหนี้.
ร้อยกรอง
หมายถึงก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ; ตรวจชำระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคำว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คำประพันธ์, ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
ง่าม
หมายถึงน. ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคำที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ ทั้งทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม.