ค้นเจอ 163 รายการ

ลหุโทษ

หมายถึงน. โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง, คู่กับ มหันตโทษ; (กฎ) ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

กำไล

หมายถึงน. ชื่อเครื่องประดับสำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือว่า ทองพระกร กำไลเท้าว่า ทองพระบาท.

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

ราง

หมายถึงน. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญ หรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.

สาลินี

หมายถึงน. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คำ คำที่ ๑ และคำที่ ๔ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ

กริตย,กริตย-

หมายถึง[กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทำ เช่น พระบาทสญไชยก็ชำระกริตยภิษิตสรรพางค์. (ม. คำหลวง มหาราช). (ส. กฺฤตฺย).

ติดสนม

หมายถึง(โบ) ก. ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐานโดยอยู่ในความดูแลของพวกสนม ใช้แก่ผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่.

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

ร่ายดั้น

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕-๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.

พิศ

หมายถึง[พิด] ว. ยี่สิบ. น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท ว่า ทองพิศ. (ส. วึศ; ป. วีส).

รอย

หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.

กมล

หมายถึง[กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ