ตัวกรองผลการค้นหา
ปทัสถาน
หมายถึงน. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. ปทฏฺาน).
มุทธชะ
หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).
จาตุ,จาตุ-
หมายถึงว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.
ประเพณี
หมายถึงน. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
คาถา
หมายถึงน. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
วินย,วินย-,วินัย
หมายถึง[วินะยะ-] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).
เยอรมัน
หมายถึงน. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชาวยุโรปชาติหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันตกของภาคพื้นยุโรป.
อักษรศาสตร์
หมายถึง[อักสอระสาด, อักสอนสาน] น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี.
ข่า
หมายถึงน. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.
รัสสระ
หมายถึง[รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. (ป.).
ทีฆสระ
หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
ปริ,ปริ-,ปริ-
หมายถึง[ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.