ตัวกรองผลการค้นหา
เงียบ ๆ
หมายถึงว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
ประทัด
หมายถึงน. เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทำด้วยกระดาษสีแดงอัดแน่นห่อดินปืน รูปร่างคล้ายบุหรี่ มีชนวนสำหรับจุด มีเสียงดัง, ลักษณนามว่า ดอก เช่น ประทัด ๒ ดอก.
อู้
หมายถึงว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรืองา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
กะกร้าว
หมายถึง(กลอน) ว. มีเสียงอย่างขบฟันดังกร้วม ๆ, (โบ) เขียนเป็น กกร้าว ก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง. (ม. คำหลวง มหาราช).
เสียงตก
หมายถึงน. ความสามารถในการร้องเพลงต่ำกว่าระดับเดิม เพราะร้องมากไปหรืออายุมากขึ้นเป็นต้น เช่น นักร้องคนนี้เคยเสียงดี แต่เวลานี้เสียงตกไปมาก เพราะอายุมากขึ้น; โดยปริยายหมายถึงคะแนนเสียงต่ำลง เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงตกไปมาก สงสัยว่าเลือกตั้งครั้งนี้คงจะไม่ได้รับเลือก.
สายเอก
หมายถึงน. สายสมอเรือสำเภา ทำด้วยเชือกเหนียวกว่าเชือกอื่น สำหรับลงสมอเมื่อพายุแรง; เรียกสายเครื่องดนตรีที่เป็นเสียงสูงว่า สายเอก, ส่วนสายที่มีเสียงรองลงมาเรียกว่า สายทุ้ม.
หวิว,หวิว ๆ
หมายถึงว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
เปรียะ,เปรี๊ยะ
หมายถึง[เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ] ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้นซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก; อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไปบนที่สูง ๆ เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ.
โอษฐชะ
หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับสระอุ อู. (ป. โอฏฺช; ส. โอษฺฐฺย).
ตาลุชะ
หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานแข็ง ได้แก่พยัญชนะวรรค จ คือ จ ฉ ช ฌ ญ และอักษร ย สระอิ อี รวมทั้ง ศ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ตาลวฺย).
ลหุ
หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.
ทันตชะ
หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).