ตัวกรองผลการค้นหา
อันตรายิกธรรม
หมายถึง[-ยิกะทำ] น. “ธรรมที่ทำอันตราย” หมายถึง เหตุขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).
แก้เคล็ด
หมายถึงก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา.
หมายขัง
หมายถึง(กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา.
ช้างน้อย
หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวแมว ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
ทุกขสมุทัย
หมายถึง[ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๒. (ป.).
ลงผี
หมายถึงก. เชิญผีมาสิงอยู่ในคนแล้วถามเหตุร้ายดี, เข้าผี หรือ ทรงเจ้าเข้าผี ก็ว่า.
คู่ความร่วม
หมายถึง(กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี.
หนี้เกลื่อนกลืนกัน
หมายถึง(กฎ) น. หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุที่สิทธิและความรับผิดในหนี้นั้นตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน.
อันเป็น,อันเป็นไป
หมายถึงน. ผลร้ายที่เกิดขึ้น, เหตุร้ายที่เกิดขึ้น, เช่น เขาแช่งคนชั่วให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
เนมิตกนาม
หมายถึงน. ชื่อที่เกิดขึ้นตามเหตุ คือลักษณะและคุณสมบัติ เช่น พระสุคต แปลว่า ผู้ดำเนินดีแล้ว.
สมุฏฐาน
หมายถึง[สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ, เช่น สมุฏฐานของโรค โรคนี้มีจิตเป็นสมุฏฐาน. (ป.).
วิภัชวาที
หมายถึงน. ผู้จำแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น โดยคำนึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.