ตัวกรองผลการค้นหา
ส่งภาษา
หมายถึงก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่ง โดยกล่าวคำเป็นภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็นภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขาส่งภาษาถิ่นมาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.
เขิน,เขิน,เขิน ๆ
หมายถึงว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
ทาบทาม
หมายถึงว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถามเพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน.
วิภัชพยากรณ์
หมายถึงน. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจำแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคำนึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
กลอนเพลงยาว
หมายถึงน. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
ศรวณีย์
หมายถึง[สะระวะนี] ว. พึงได้ยิน, ควรได้ยิน; น่าฟัง, น่าชม. (ส.; ป. สวนีย).
หูเข้าพรรษา
หมายถึงว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
บอก
หมายถึงก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
กระพอก
หมายถึงก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
ธงนำริ้ว
หมายถึงน. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นำริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ่งขุ่นเคืองใจ.
ไม่ทัน
หมายถึงว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทำให้พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
ศัพท์แสง
หมายถึง(ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสง ฟังไม่รู้เรื่อง.