ตัวกรองผลการค้นหา
วิสสุกรรม
หมายถึงน. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
สกรรจ์
หมายถึง[สะกัน] ว. ร้าย, ดุร้าย, เก่งกาจ, แข็งแรง, โดยมากใช้ ฉกรรจ์.
สิ้นกรรม,สิ้นกรรมสิ้นเวร,สิ้นเวร,สิ้นเวรสิ้นกรรม
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป เช่น เมื่อเขามีชีวิตอยู่ มีภาระมากหรือเจ็บป่วยทรมาน ตายไปก็ถือว่าสิ้นเวรสิ้นกรรม, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร หมดเวร หรือ หมดเวรหมดกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
อยู่กรรม,อยู่ปริวาส
หมายถึงก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้าปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
อสัญกรรม
หมายถึงน. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
อุโบสถกรรม
หมายถึง[อุโบสดถะกำ] น. การทำอุโบสถ. (ป. อุโปสถกมฺม).
กรรเกด
หมายถึง[กัน-] (กลอน) น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์. (ทวาทศมาส).
กรรเจียก
หมายถึง[กัน-] น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา). [ข. ตฺรเจียก ว่าหู].
กรรชิด
หมายถึง[กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).
กรรแซง
หมายถึง[กัน-] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทำหน้าที่แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง).
กรรณ
หมายถึง[กัน] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
กรรณิกา
หมายถึง[กัน-] (แบบ) น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺณิกา ว่า ฝักบัว, ช่อฟ้า; ป. กณฺณิกา).