ตัวกรองผลการค้นหา
รัว
หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ใช้ในโอกาสเช่นร่ายเวทมนตร์คาถา แปลงกาย หรือเนรมิตตัว.
เสก
หมายถึงก. ร่ายมนตร์เพื่อทำให้ขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เสกน้ำล้างหน้า เสกแป้งผัดหน้า, ร่ายมนตร์เพื่อทำให้สิ่งหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เสกหญ้าให้เป็นหุ่นพยนต์ เสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน, ร่ายมนตร์เพื่อให้เกิดพลังส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปทำร้ายศัตรู เช่น เสกหนังเข้าท้อง.
ปะเลง
หมายถึงน. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าประกอบดนตรี.
เป่ากระหม่อม
หมายถึงก. ร่ายมนตร์คาถาแล้วเป่าลงกลางศีรษะเพื่อให้เกิดเมตตามหานิยมเป็นต้น.
กลอง
หมายถึง[กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทำนองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทำตอนที่เล่นกีฬาท่าต่าง ๆ มีรำดาบ รำง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรำเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายู เครื่องและทำนองอย่างเดียวกับเพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รำกริช.
เล็บนาง
หมายถึงน. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลาฟ้อนรำ.
กระซิกกระซวย
หมายถึงก. ค่อยกระแซะเข้าไป เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระซิกกระซวย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ขวาด
หมายถึง[ขฺวาด] ว. วุ่น, ยุ่ง, เช่น มันจะมาเตือนตั้งก่อความขวาด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
รำเร
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เช่น ทั้งขนมรำเรเร่ฉํ่า. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ละครใน
หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.
ขันธาวาร
หมายถึง[-ทาวาน] (แบบ) น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป.).
ธนัง
หมายถึง(แบบ; กลอน) น. ทรัพย์สิน เช่น มันก็ไม่รู้มั่งที่จะให้เกิดทุนธนัง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).