ค้นเจอ 100 รายการ

ศาลอุทธรณ์

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอำนาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.

หลง

หมายถึง[หฺลง] ก. สำคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออกไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทาง; เหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝนหลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.

เข้าลิลิต

หมายถึงก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ