ตัวกรองผลการค้นหา
อุปัชฌายวัตร
หมายถึง[อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริกจะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
อินทราภิเษก
หมายถึง[อินทฺรา-] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นำเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.
ชว,ชว-
หมายถึง[ชะวะ-] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
ปัพพาชนียกรรม
หมายถึง[-ชะนียะ-] น. กิจของสงฆ์ทำในการขับไล่ภิกษุ; การขับไล่ออกจากหมู่. (ส. ปฺรวฺราชนียกรฺม; ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
ทำวัตร
หมายถึงก. กระทำกิจที่พึงกระทำตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่นไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทำวัตรพระ ก็ว่า; ทำสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
บทวเรศ
หมายถึง[บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
เกริน
หมายถึง[เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
ไกรสิทธิ
หมายถึง[ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คำหลวง มัทรี).
สังฆกรรม
หมายถึง[สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).
ภาวะฉุกเฉิน
หมายถึงน. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม.
แสบก
หมายถึง[สะแบก] น. หนังสัตว์ เช่น ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ เปนบรรพบุรณะ นเรนทรราชบรรหาร. (สมุทรโฆษ). (ข.).
กฎมนเทียรบาล
หมายถึง(กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.