ตัวกรองผลการค้นหา
สัมฤทธิศก
หมายถึง[สำริดทิสก] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๐ เช่น ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๕๐, ปีสำเร็จ (ครบรอบ คือ ปีที่ ๑๐ ของรอบ ๑๐ ปีของจุลศักราช) ซึ่งตั้งต้นด้วยเอกศก โทศก เป็นลำดับไปจน นพศก แล้วสัมฤทธิศก เป็นครบรอบแล้วตั้งต้นใหม่.
พินทุ
หมายถึงน. หยาดเช่นหยาดนํ้า, จุด, จุดที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร; ลายแต้มสีที่หน้าผากระหว่างคิ้ว; รูปวงเล็ก ๆ; รูปสระ ดังนี้ ิ; ชื่อสังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิกำลัง ๗ หรือเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๔๙ ตัว. (ป. พินฺทุ; ส. พินฺทุ, วฺฤนฺท, วินฺทุ).
เหยียด
หมายถึง[เหฺยียด] ก. ทำสิ่งที่งออยู่ให้ตรง เช่น เหยียดเส้นลวด; ยาวตรงออกไปเต็มขนาด เช่น เหยียดแขน เหยียดขา; ในวิธีเลขโบราณว่า ลบออก เช่น เหยียดนพเป็นเอก คือ เอา ๙ ลบ ๑๐ เหลือ ๑; ดูถูก เช่น เหยียดผิว. ว. ยาวตรงออกไปเต็มขนาด ในคำว่า ยาวเหยียด.
กรรภิรมย์
หมายถึง[กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสำรับหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนำช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
ส่วน
หมายถึงน. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทำบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉันไปเชียงใหม่.
รหัส
หมายถึง[-หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้, ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
ตำแหน่ง
หมายถึง[-แหฺน่ง] น. ที่อยู่ เช่น ตำแหน่งของดวงดาว; แห่งที่; หน้าที่การงาน; ฐานะ เช่น ตำแหน่งผู้จัดการ; ลักษณนามเรียกจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยม ยกเว้นเลขศูนย์ที่ไม่มีตัวเลขอื่นตามหลัง เช่น ๕.๐๔ เรียกว่า ทศนิยม ๒ ตำแหน่ง ๖.๑๐๘ เรียกว่า ทศนิยม ๓ ตำแหน่ง; (คณิต) สิ่งที่บ่งระบุระดับความถูกต้องในการแสดงค่าของจำนวนจริงในรูปของทศนิยม เช่น ทศนิยม ๓ ตำแหน่ง หมายถึง ระดับความถูกต้องชนิดที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๑ ใน ๑,๐๐๐.
ทับ
หมายถึงก. วางข้างบน, ซ้อนข้างบน, อาการที่ของหนัก ๆ โค่นหรือล้มลงพาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง เช่น ต้นไม้ล้มทับบ้าน, อาการที่สิ่งที่มีล้อเคลื่อนไปด้วยกำลังเร็วแล้วปะทะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกดหรือบดลงไปโดยแรง เช่น รถทับคน; ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่สัตว์บางชนิด เช่น ม้า วัว ควาย); เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ / ที่ขีดเอนหลังจำนวนเลขว่า ทับ.
บ้าน
หมายถึงน. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็นเมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่นซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
ผูกดวง
หมายถึง(โหร) ก. นำเครื่องหมายแทนพระเคราะห์มี อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เป็นต้น บรรจุลงในดวงตามช่องจักรราศีทั้ง ๑๒ ที่โคจรมาสถิตตามวัน เดือน ปี และเวลาตกฟากของเจ้าของชะตานั้น ดูว่าอาทิตย์ตกอยู่ในราศีใด แล้วเอาองศาอาทิตย์ของวันเกิดเจ้าของชะตามาคำนวณว่า เมื่อเวลา ๖.๐๐ นาฬิกา อาทิตย์อยู่ในราศีดังกล่าวมาแล้วนานเท่าใด เรียกว่า อดีตอุทัย และเวลาเหลืออีกนานเท่าใดจึงจะพ้นไปจากราศีนั้น เรียกว่า อนาคตอุทัย แล้วเอาเวลาตกฟากตั้งลบด้วย ๖.๐๐ นาฬิกา และอนาคตอุทัย ต่อไปเอาอันโตนาทีของราศีถัด ๆ ไปลบทีละราศี ถ้าเวลาหรือเลขที่เหลือไม่พอให้อันโตนาทีของราศีใดลบได้ ลัคนาก็อยู่ที่ราศีนั้น การผูกดวงนี้เพื่อทำนายโชคชะตาเป็นต้น.
มาตรา
หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.