ตัวกรองผลการค้นหา
ปฐมทัศน์
หมายถึง[ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละครหรือการฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.
ช้า
หมายถึงน. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละครอื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
บอกบท
หมายถึงก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
ตัวประกอบ
หมายถึงน. ผู้แสดงบทบาทไม่สำคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียงประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น.
นาฏย,นาฏย-
หมายถึง[นาดตะยะ-] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
รัดเครื่อง
หมายถึงก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้าให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.
กระต่ายชมจันทร์
หมายถึงน. ท่ารำละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวกเพลงเกร็ด.
เพลงเชิด
หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินทางไกล.
องก์
หมายถึงน. ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร แต่ละตอนอาจมีเพียงฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้. (ป., ส. องฺก).
มโนราห์
หมายถึงน. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
กาบพรหมศร
หมายถึงน. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่งที่ประกอบกับโคนเสา เช่น เสาบุษบก มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร.
ภรต,ภรต-
หมายถึง[พะรด, พะระตะ-, พะรดตะ-] น. ผู้เต้นรำ, ผู้แสดงละคร. (ส.).