ตัวกรองผลการค้นหา
ออกปาก
หมายถึงก. พูดขอความช่วยเหลือ เช่น ออกปากขอแรงชาวบ้านมาช่วยงาน; พูดเชิงตำหนิ เช่น เขาใช้เงินเปลืองจนแม่ออกปาก.
เครื่องเล่น
หมายถึงน. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทำนองตลกขบขันหรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
เอื้อนวาจา,เอื้อนโอฐ,เอื้อนโอฐ
หมายถึง(ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมาได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.
ตีขลุม
หมายถึงก. ตู่หรือหยิบฉวยเอาของผู้อื่นโดยทึกทักเอาว่าเป็นของตน, แสดงอาการเป็นเชิงรับสมอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตน.
ดูหมิ่น,ดูหมิ่น,ดูหมิ่นถิ่นแคลน
หมายถึงก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
สุดท้ายปลายโต่ง
หมายถึง(ปาก) ว. หลังสุด, ท้ายสุด, (มักใช้ในเชิงตำหนิหรือเย้ยหยัน), เช่น ทำไมมาเสียสุดท้ายปลายโต่ง ไหนเคยคุยว่าเก่ง ทำไมถึงสอบได้ที่สุดท้ายปลายโต่ง.
เพชรหึง
หมายถึง[เพ็ดชะ-] น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Grammatophyllum speciosum Blume ในวงศ์ Orchidaceae ขึ้นเป็นกอบนคบไม้ ดอกใหญ่ สีเหลืองประม่วงแดงเข้ม, ว่านเพชรหึง ก็เรียก.
กรอ
หมายถึงก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
หมิ่น
หมายถึงก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่นถิ่นแคลน ก็ว่า.
ดาล
หมายถึงก. เกิดขึ้น, เป็นขึ้น, มีขึ้น. น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น ดาลได ว่า ฝ่ามือ ดาลเชิง ว่า ฝ่าเท้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
โดนดี
หมายถึง(ปาก) คำพูดเชิงประชดประชัน มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความแวดล้อม (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ระวังเถอะเดี๋ยวโดนดีดอก.
เถอะ
หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.