ค้นเจอ 241 รายการ

ตะบูน

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Xylocarpus วงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชายเลนและริมแม่นํ้าที่นํ้าเค็มขึ้นถึง มี ๒ ชนิด คือ ตะบูนขาว หรือ กระบูน (X. granatum Koenig) เปลือกสีนํ้าตาลแกมแดง ผลขนาดส้มโอ และ ตะบูนดำ [X. moluccensis (Lam.) M. Roem.] เปลือกสีนํ้าตาลแกมดำ ผลขนาดส้มเกลี้ยง.

ปล้อน

หมายถึง[ปฺล้อน] ก. ปลิ้นเปลือกหรือเมล็ดในผลไม้ออกจากปาก เช่น ปล้อนเมล็ดลำไย ปล้อนเมล็ดน้อยหน่า, ลอกเปลือกผลไม้ออก เช่น ปล้อนมะพร้าว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปลิ้น เป็น ปล้อนปลิ้น หรือ ปลิ้นปล้อน มีความหมายอย่างปล้อน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อุบายล่อลวงเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตน.

งาช้าง

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลในชั้น Scaphopoda เปลือกมีรูปร่างคล้ายงาช้าง ส่วนมากเป็นสีขาว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Dentalium aprinum, D. longitrorsum, ฟันช้าง ก็เรียก.

สา

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระสา. (ดู กระสา ๓), ชื่อกระดาษที่ทำจากเปลือกต้นกระสา ใช้ทำร่มเป็นต้น เรียกว่า กระดาษสา.

กระดาษ

หมายถึงน. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทำจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ.

ขยัน

หมายถึง[ขะหฺยัน] น. ชื่อไม้เถาชนิด Bauhinia strychnifolia Craib ในวงศ์ Leguminosae เปลือกมีรสหวาน ๆ ฝาด ๆ ใช้กินกับหมาก.

เจดีย์

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Turritellidae เปลือกเวียนเป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ เช่น ชนิด Turritella terebra.

เดือย

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coix lachryma-jobi L. ในวงศ์ Gramineae ลำต้นและใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือนํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทำเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้มแข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทำเครื่องประดับ.

พิมปะการัง

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Pholas orientalis ในวงศ์ Pholadidae รูปร่างค่อนข้างยาว สามารถใช้เปลือกขุดดินให้เป็นรูอยู่ได้, พิมพการัง ก็เรียก.

มีดกรีดกล้วย

หมายถึงน. มีดขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายแหลมโค้งงอ ด้ามทำด้วยไม้ ใช้กรีดหรือผ่าเปลือกกล้วยปิ้ง.

ข้าวกล้อง

หมายถึงน. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.

เบี้ย

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสำหรับซื้อขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับสตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคำว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ