ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ประการ, ปการ, ลการ, การ,-การ,-การ, กรมการ, คล้องจอง, อาการนาม, กรรมการ, งาน, การ
กตาธิการ
หมายถึง[กะตาทิกาน] (แบบ) น. อธิการ (บารมีอันยิ่ง) ที่ทำไว้. ว. มีอธิการที่ทำไว้, มีบารมีที่สั่งสมไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทำแล้ว + อธิการ).
กฤดา,กฤดาการ
หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
กัมปนาการ
หมายถึงน. อาการคือการหวั่นไหว. (ป.).
การ,-การ,-การ
หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
กิจการ
หมายถึงน. การงานที่ประกอบ, ธุระ.
ขบวนการ
หมายถึงน. กลุ่มบุคคลที่รวมกันเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ข้อราชการ
หมายถึงน. เรื่องราชการ.
จำห้าประการ
หมายถึงว. มีเครื่องจองจำครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้าติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไปในคาและไปติดกับขื่อทำด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จำครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
เจ้ากี้เจ้าการ
หมายถึงน. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตนจนน่ารำคาญ.
โถมนาการ
หมายถึง[โถมะนา-] (แบบ) น. การชมเชย. (ป. โถมน + อาการ).
ทรรศนาการ
หมายถึงน. อาการดู.
ทางการ
หมายถึงน. ระเบียบปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทาง, ฝ่ายที่เป็นกิจการ. ว. ที่เป็นงานเป็นการ.