ตัวกรองผลการค้นหา
คันถรจนาจารย์
หมายถึง[-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).
จารีต
หมายถึง[-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
จารีตนครบาล
หมายถึงก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจำเลย.
ถ่ายอุจจาระ
หมายถึงก. ขี้, ถ่ายทุกข์ ก็ว่า.
เทศาจาร
หมายถึงน. ธรรมเนียมของบ้านเมือง. (ส.).
บริจารก
หมายถึง[บอริจารก] น. คนใช้, คนบำเรอ. (ป., ส. ปริจารก).
บุพพาจารย์
หมายถึงน. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา. (ป. ปุพฺพาจริย; ส. ปูรฺวาจารฺย).
ปรมาจารย์
หมายถึง[ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
ปริจาริกา
หมายถึง[ปะ-] น. บริจาริกา. (ป.).
ภิกษาจาร
หมายถึงน. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ส.; ป. ภิกฺขาจาร).
มิจฉาจาร
หมายถึงน. การประพฤติผิด. (ป. มิจฺฉา + อาจาร).
วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์
หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.