ตัวกรองผลการค้นหา
กรมท่า
หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า. ว. สีขาบ, สีนํ้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
กรรมสิทธิ์
หมายถึง[กำมะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
กรรมสิทธิ์รวม
หมายถึง(กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกันในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง.
กรสุทธิ์
หมายถึง[กะระ-] น. “การชำระมือให้หมดจด”, พิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
กระจอกเทศ
หมายถึงน. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus ในวงศ์ Struthionidae ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.
กระทงแถลง
หมายถึง(กฎ; เลิก) น. ส่วนสำคัญในสำนวนความที่เป็นประเด็นและที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.
กระทงลาย
หมายถึงน. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Celastrus paniculatus Willd. ในวงศ์ Celastraceae ใบรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักถี่ ดอกเล็กขาว ๆ เหลือง ๆออกเป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อแก่แตกเป็น ๓ กลีบ นํ้ามันจากเมล็ดใช้ทำยา ตามไฟ หรือเคลือบกระดาษกันนํ้าซึม, กระทุงลาย หรือ มะแตก ก็เรียก.
กระทบกระเทียบ
หมายถึงว. เปรียบเปรยให้กระทบถึง.
กระทบกระแทก
หมายถึงว. อาการที่กล่าวเปรย ๆ ให้กระทบไปถึงผู้ใดผู้หนึ่งอย่างแรง.
กระทรวง
หมายถึง[-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
กระท่อม
หมายถึงน. เรือนเล็ก ๆ ทำพออยู่ได้. (เทียบ ข. ขฺทม).
กระท่อมเลือด
หมายถึงน. ตำรากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).