ตัวกรองผลการค้นหา
วาทิต
หมายถึงน. สังคีต, ดนตรี; ผู้บรรเลงดนตรี. (ป. วาทิต, วาทิตฺต; ส. วาทิต, วาทิตฺร).
วิทิต
หมายถึงน. ผู้คงแก่เรียน, ผู้รู้. (ป., ส.).
มุทิตา
หมายถึงน. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
อาทิตยวาร
หมายถึงน. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิจจวาร ก็ว่า.
แสงอาทิตย์
หมายถึงน. ชื่องูชนิด Xenopeltis unicolor ในวงศ์ Xenopeltidae โตเต็มวัยยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ตัวสีนํ้าตาลม่วงเป็นเงามัน ท้องขาว หัวแบน ตาเล็ก ออกหากินเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
ธรรมาทิตย์
หมายถึง[ทำมา-] น. อาทิตย์แห่งธรรม คือพระพุทธเจ้า. (ส.).
อกตเวทิตา
หมายถึง[อะกะตะ-] น. ความเป็นผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ความเป็นผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญุตา. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ + ตา ว่า ความเป็น].
โยธวาทิต
หมายถึงน. แตรวงทหารและตำรวจ.
อาทิตย,อาทิตย-,อาทิตย์
หมายถึง[-ทิดตะยะ-, -ทิด] น. “เชื้ออทิติ” คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนางอทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจำนวนกล่าวไว้ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตำรานพเคราะห์นับเอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
อาทิตยมณฑล
หมายถึงน. ดวงอาทิตย์, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงอาทิตย์.
ทิต
หมายถึง(แบบ) ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป. ทิตฺต).
กตเวทิตา
หมายถึง[กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).