ค้นเจอ 44 รายการ

เพลงออกสิบสองภาษา

หมายถึงน. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดยนำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็นชุด มี ๑๒ ภาษา.

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

ภาษาปาก

หมายถึงน. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.

ภาษาศาสตร์

หมายถึงน. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.

ตันติภาษา

หมายถึงน. ภาษาที่มีแบบแผน. (ส.; ป. ตนฺติภาสา).

ประภาษ

หมายถึง[ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).

วิภาษ

หมายถึงก. พูดแตกต่าง, พูดแย้ง. (ส. วิ + ภาษฺ).

ส่งภาษา

หมายถึงก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่ง โดยกล่าวคำเป็นภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็นภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขาส่งภาษาถิ่นมาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.

สอบสัมภาษณ์

หมายถึงก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่.

ออกภาษา

หมายถึงน. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.

ผูกภาษี

หมายถึง(โบ) ก. ว่าเหมาการเก็บภาษีไปทำเองแล้วให้เงินแก่หลวงตามสัญญา.

ภาษ

หมายถึง[พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ