ค้นเจอ 224 รายการ

กระ

หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.

กราบพระ

หมายถึง(โบ) น. ผ้ากราบ.

กุระ

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มนํ้าขังและริมคลองนํ้ากร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.

ขีระ

หมายถึง(แบบ) น. นํ้านม. (ป.).

ชระ

หมายถึง[ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคำในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน.

ชาคระ

หมายถึง[ชาคะระ] (แบบ) น. ความเพียร, ความตื่นอยู่. (ป., ส.).

ดาร,ดาร-,ดาระ

หมายถึง(แบบ) น. เสียง, เสียงดัง, เสียงสูง, เสียงแหลม. ก. ข้าม เช่น ฝ่ายคนผู้ข้าได้ดำรวจดารทาน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตาร).

เดียร,เดียระ

หมายถึง[เดียน, เดียระ] (แบบ) น. ฝั่ง. (ป., ส. ตีร).

ตระ

หมายถึง[ตฺระ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.

ตันตระ

หมายถึง[-ตฺระ] (แบบ) น. ส่วนสำคัญ, หัวข้อ, คำสอน. (ส.).

แตระ

หมายถึง[แตฺระ] ก. ประดิษฐ์, ตัดกลีบดอกไม้ทำเป็นบุหงา เช่น วันนี้เห็นแตระดอกไม้. (อิเหนา).

ถวายข้าวพระ

หมายถึงก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับไปถวายพระพุทธโดยยกมือประนม กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺยฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ