ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เล็ง, คาด, กะ, หมาย
มุ่งหมาย
หมายถึงก. ตั้งใจที่จะให้บรรลุถึงจุดที่หมายไว้.
หมายกำหนดการ
หมายถึงน. เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า” เสมอไป.
หมายค้น
หมายถึง(กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น เพื่อยึดสิ่งของหรือจับกุมบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ หรือเพื่อช่วยบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย.
หมายจำคุก
หมายถึง(กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้จำคุกผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือประหารชีวิต.
หมายเรียก
หมายถึง(กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐานให้ศาล; หมายที่นายอำเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ.
หมายอาญา
หมายถึง(กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลยหรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายเช่นนี้อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับแล้วด้วย.
บาดหมาย
หมายถึง(โบ) น. บัตรหมาย.
กฎหมายเหตุ
หมายถึงน. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ; โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.
กฎหมายอาญา
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น. (อ. criminal law).
กฎหมายเอกชน
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
ข้อกฎหมาย
หมายถึง(กฎ) น. ข้อความที่เกี่ยวกับการใช้บังคับหรือการตีความกฎหมาย.
ประมวลกฎหมาย
หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวมกฎหมายในลักษณะเดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร.