ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กรร-, กรร, กรรมกรณ์, กรม, กรุ, กรรมกร, กระกร, กรอ, บัญชร, ประติมากรรม, พาสุกรี
กรกช
หมายถึง[กอระกด] (กลอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
กรด
หมายถึง[กฺรด] (ปาก) ว. ยิ่ง, มาก, เช่น ไวเป็นกรด ฉลาดเป็นกรด.
กรน
หมายถึง[กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลำคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอหอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
กรบูร
หมายถึง[กะระบูน] น. การบูร.
กรมการอำเภอ
หมายถึง(เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละคนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
กรมท่า
หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า. ว. สีขาบ, สีนํ้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
กรร
หมายถึง[กัน] (เลิก) ก. กัน เช่น เรือกรร.
หมายถึง[กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
กรรกง
หมายถึง[กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จำเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
กรรกฎ
หมายถึง[กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
กรรชิง
หมายถึง[กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่นรับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้ายร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกำมะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและนํ้าเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
กรรซ้นน
หมายถึง[กันซั้น] (โบ) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน. (ม. คำหลวง กุมาร).