ค้นเจอ 31 รายการ

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

กรรมการ

หมายถึง[กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).

รากศัพท์

หมายถึงน. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุ เช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.

กรรมการ

หมายถึง(โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่าจะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค).

อนุกรรมการ

หมายถึง[อะนุกำมะกาน] น. กรรมการสาขาของคณะกรรมการ.

องค์ประชุม

หมายถึงน. จำนวนสมาชิกหรือกรรมการที่มาประชุมตามข้อบังคับการประชุมที่กำหนดไว้ เช่น กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม.

เบี้ยประชุม

หมายถึงน. เงินค่าตอบแทนที่ให้แก่กรรมการเป็นต้นที่เข้าประชุม.

เหรัญญิก

หมายถึงน. ตำแหน่งกรรมการเจ้าหน้าที่ของสมาคมเป็นต้น ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน.

ลาออก

หมายถึงก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจากการเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.

กรรมการิณี

หมายถึง[กำมะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).

กฤษฎีกา

หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.

สรรหา

หมายถึงก. เลือกมา, คัดมา, เช่น สรรหาของมาตกแต่งบ้าน คณะกรรมการสรรหาอธิการบดี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ