ค้นเจอ 11 รายการ

กาฬาวก

หมายถึง[-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีนํ้าไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).

คังไคย

หมายถึงน. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คังไคยหัตถี กายสีเหมือนสีนํ้าไหล, คงไคย ก็ว่า. (ดู กาฬาวก). (ป. คงฺเคยฺย; ส. คางฺเคย).

มงคลหัตถี

หมายถึง[มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก).

คงไคย

หมายถึงน. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหมือนสีนํ้าไหล, คังไคย ก็ว่า. (ดู กาฬาวก). (ป. คงฺเคยฺย; ส. คางฺเคย).

ตามพหัตถี

หมายถึง[ตามพะ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองแดง. (ดู กาฬาวก).

เหม,เหม-

หมายถึง[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.); เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่างซึ่งมียอดแหลมปิดทอง; เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับบัวกลุ่ม.

คันธ,คันธ-,คันธะ

หมายถึง[คันทะ-] (แบบ) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. (ดู กาฬาวก).

ฉัททันต์

หมายถึง(แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก); ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).

ปิงคลหัตถี

หมายถึง[ปิงคะละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อนดั่งสีตาแมว. (ดู กาฬาวก).

ปัณฑรหัตถี

หมายถึง[ปันดะระ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส. (ดู กาฬาวก).

อุโบสถ,อุโบสถ,อุโบสถหัตถี

หมายถึง[อุโบสด, อุโบสดถะ-] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ