ตัวกรองผลการค้นหา
กำ
หมายถึงน. ซี่ล้อรถหรือเกวียน.
หมายถึงก. งอนิ้วมือทั้ง ๔ ให้จดอุ้งมือ, เอานิ้วมือทั้ง ๕ โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง ๕ รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้. น. มือที่กำเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กำเข้า, กำมือ ก็ว่า; มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ของกลมนั้นเรียกว่ามีขนาด ๑ กำ, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กำสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กำเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้วครึ่งกระเบียด หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กำสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ ๑๐.๒๕ เซนติเมตร); ลักษณนามเรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้ เช่น ผักกำหนึ่ง หญ้า ๒ กำ.
กำ,กำ,กำม
หมายถึง(โบ) น. กรรม เช่น ไข้เจ็บหมอตั้งกำไว้, ท่านว่าเป็นกำมของเขาเอง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-
หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
กำมือ
หมายถึงน. มือที่กำเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กำเข้า; กำ ก็ว่า; มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๔ หยิบมือ = ๑ กำมือ ๔ กำมือ = ๑ ฟายมือ และอีกแบบหนึ่ง ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ ๘ กำมือ = ๑ จังออน.
เป็นกอบเป็นกำ
หมายถึง(สำ) ว. เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้เป็นกอบเป็นกำ, เป็นก้อนใหญ่ ทำประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ.
กำขี้ดีกว่ากำตด
หมายถึง(สำ) ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย.
เสียกำได้กอบ,เสียกำแล้วได้กอบ
หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง เช่น เสียหนึ่งนิ่งไว้นานไปคงได้สอง เสมือนหนึ่งของท่านหายมีที่ไว้ ข้าพเจ้าคงจะหามาให้ไม่ให้เดือดร้อน ยอมเสียกำไปก่อนนั่นแหละ จึงจะได้กอบ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กงเกวียนกำเกวียน
หมายถึง(สำ) ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน.
เป็นเนื้อเป็นหนัง
หมายถึงว. เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นกอบเป็นกำ.
กัมป,กัมป-,กัมปน,กัมปน-
หมายถึง[กำปะ-, กำปะนะ-] น. การหวั่นไหว, แผ่นดินไหว. (ป., ส.).
เสียกำซ้ำกอบ,เสียกำแล้วซ้ำกอบ
หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).