ค้นเจอ 104 รายการ

ขานยาม

หมายถึง(โบ) ก. บอกเวลาเปลี่ยนชั่วโมง.

ขาน

หมายถึงก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.

ขาน

หมายถึงว. ใช้ประกอบต่อคำ “ตาย” ว่า ไม้ตายขาน หมายความว่า ต้นไม้ที่ยืนต้นตายเป็นแถว ๆ.

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

เรือยาม

หมายถึงน. เรือที่จัดให้อยู่เวรยาม เพื่อการเฝ้าตรวจ เช่น เรือยามเรดาร์ หรือเพื่อการใช้สอยทั่วไป เช่น เรือยามข้ามฟาก.

เฝ้ายาม

หมายถึงก. เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา.

ต่อว่า,ต่อว่าต่อขาน

หมายถึงก. ท้วงถามเหตุผลต่อผู้ที่ทำให้ตนไม่พอใจ, ว่ากล่าวเพราะไม่ทำตามที่พูดหรือที่ให้สัญญาไว้.

ขา

หมายถึงว. คำขานรับของผู้หญิง.

พุโธ

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

โสโร

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยาม ในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

ชีโว

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

ศุกระ

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ