ค้นเจอ 104 รายการ

จมูก

หมายถึง[จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สำหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, (ปาก) ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระนาสิก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).

สำรวมอินทรีย์

หมายถึงก. ระมัดระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.

ริดสีดวง

หมายถึงน. ชื่อโรคพวกหนึ่งมีหลายชนิด เกิดในช่องตา จมูก ทวารหนัก เป็นต้น.

นาสิก

หมายถึง(แบบ) น. จมูก. (ป., ส. นาสิกา).

ผัสส,ผัสส-,ผัสสะ

หมายถึงน. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).

จรมูก

หมายถึง[จะระหฺมูก] (กลอน) น. จมูก. (ข. จฺรมุะ).

ภควัม

หมายถึง[พะคะ-] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทำหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทำหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็นภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.

รูปธรรม

หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

อินทรียสังวร

หมายถึงน. ความสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).

ฆาน

หมายถึง[คาน] (แบบ) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.).

นวทวาร

หมายถึงน. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).

นัตถุ์

หมายถึง[นัด] น. จมูก. (ป.; ส. นสฺตุ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ