ค้นเจอ 12 รายการ

ตรัส

หมายถึง(ราชา) ก. พูด. ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน.

ประภาษ

หมายถึง[ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).

ดำรัส

หมายถึง[-หฺรัด] น. คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).

ตรัสวิน

หมายถึงครุฑ, ผู้เคลื่อนที่เร็ว

ไตร

หมายถึง[ไตฺร] ว. ไกร, ยิ่ง, เช่น ตรัสไตร.

กระแสพระราชดำรัส

หมายถึง[-ราดชะ-] (ราชา) น. ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส.

บรรหาร

หมายถึง[บันหาน] (กลอน; แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.

สำแดง

หมายถึงคำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

ว่าขาน

หมายถึงก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา ฯ (อิเหนา).

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ