ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กุมุท, งัว, วัว, ศิรามพุช, วปุ, ไพ่ตอง, ร, ลักษณนาม, อักษรสูง, อัพพุท
วปุ
หมายถึง(แบบ) น. ตัว, ร่างกาย. (ป., ส.).
เรื้อน แปลว่าอะไร
ไพ่ตอง
หมายถึงน. ชื่อไพ่ไทยชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๑๒๐ ใบ ประกอบด้วย ๑๐ พวก พวกละ ๑๒ ตัว, ไพ่ผ่องไทย ก็เรียก.
ร
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).
ลักษณนาม
หมายถึง(ไว) น. คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.
อักษรสูง
หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.
อัพพุท
หมายถึงน. ชื่อสังขยาจำนวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือโกฏิยกกำลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. (ป.).
กระจ้อน
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Menetes berdmorei ในวงศ์ Sciuridae เป็นสัตว์จำพวกกระรอก ตัวสีนํ้าตาล มีลายสีดำและนํ้าตาลอ่อนตามยาวข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง วิ่งหากินตามพื้นดิน.
กาย,กาย-
หมายถึง[กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคำ ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
ขะน่อง,ขาน่อง
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
ทรอมโบน
หมายถึง[ทฺรอม-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีท่อลมสวมซ้อนกันและบังคับเสียงโดยวิธีชักท่อลมเลื่อนเข้าออก, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trombone).
องค์
หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
นินหุต
หมายถึง[นินนะหุด] (แบบ) น. ชื่อสังขยา คือ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๓๕ ตัว. (ป. นินฺนหุต).