ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ตละ, กิตติมศักดิ์, เจติย,เจติย-, ตรละ, ติลก, สีตล,สีตล-, ดิลก, ติณ,ติณ-
ติละ
หมายถึง(แบบ) น. พืชงา, เมล็ดงา. (ป., ส.).
ติก,ติก-,ติกะ
หมายถึง[ติกะ-] (แบบ) น. หมวด ๓ คือ ที่รวมวัตถุหรือธรรมะอย่างละ ๓. (ป.).
ติ
หมายถึงก. ชี้ข้อบกพร่อง.
ละ
หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
หมายถึงว. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
ติตติระ
หมายถึง[ติด-] (แบบ) น. นกกระทา. (ป.).
สูติ,สูติ-
หมายถึง[สู-ติ-] น. การเกิด, กำเนิด, การคลอดบุตร. (ส.).
ติระ
หมายถึง(แบบ) น. ฝั่ง. (ป., ส.).
ติณ,ติณ-
หมายถึง[ติน, ตินะ-, ตินนะ-] น. หญ้า. (ป.).
มละ
หมายถึง[มะละ] ก. ละ, ทิ้ง.
ศกละ
หมายถึง[สะกะละ] น. ส่วน, ซีก. (ส.; ป. สกล).
เปศละ
หมายถึง[เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก, น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชำนาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).