ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา หิน,หิน,หิน-, เลว, ทุ, หืน, ชั่ว, หีน,หีน-, ช้า, ถ่อย, สัดส่วน, ปูนขาว, พาลุก
เลว
หมายถึงว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม; สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว. ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคำ รบ เป็น รบเลว.
ทราม
หมายถึง[ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบเป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
ชั่ว
หมายถึงว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
หิน,หิน,หิน-
หมายถึง[หิน, หินนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า, ใช้ว่า หืน ก็มี เช่น โหดหืน. (ป., ส. หีน).
หีน,หีน-
หมายถึง[หีนะ-, หีนนะ-, ฮีนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ป., ส.).
ช้า
หมายถึงว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
ถ่อย
หมายถึงว. ชั่ว, เลว, ทราม.
ทุ
หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
หืน
หมายถึง(กลอน) ว. หิน, เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ดู หิน ๔, หิน-).
ชั่วช้า
หมายถึงว. เลวทราม.
ต่ำช้า
อภัพผล
หมายถึง[อะพับพะผน] น. ผลที่ไม่สมควร, ผลทราม.