ค้นเจอ 16 รายการ

ทะนาน

หมายถึงน. เครื่องตวงอย่างหนึ่งทำด้วยกะโหลกมะพร้าวเป็นต้น; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, มาตราตวงของไทยโบราณเท่ากับ ๘ ฟายมือ. (เทียบ ส. ทินาร ว่า ตาชั่ง).

สัด

หมายถึงน. ภาชนะรูปทรงกระบอก ทำด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว; เครื่องตวงบางชนิดในสมัยโบราณ ใช้ตวงดินปืนบรรจุปากกระบอกปืน; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ ๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร.

ถัง

หมายถึงน. ภาชนะจำพวกหนึ่ง ทำด้วยไม้หรือโลหะเป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ กัน โดยมากใช้ตักนํ้าหรือตวงสิ่งของเป็นต้น; ชื่อมาตราตวงเท่ากับ ๒๐ ทะนาน.

เท

หมายถึงก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจำนวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือตะแคงไปข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน.

ขะนาน

หมายถึงน. ทะนาน.

โทณะ

หมายถึง(แบบ) น. ทะนาน, กะละออม, เครื่องตวงอย่างหนึ่ง = ๔ อาฬหก. (ป.).

กระเชอ

หมายถึงน. ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้าง ใช้กระเดียด; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด, กันเชอ ก็เรียก. (เทียบ ข. กญฺเชิ).

นาลี

หมายถึง(แบบ) น. หลอด, ก้าน, ลำ, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป. นาฬี, นาลี).

นาฬี

หมายถึง(แบบ) น. นาลี, หลอด, ก้าน, ลำ, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป.).

กรีส

หมายถึง[กะหฺรีด] น. อาหารเก่า, คูถ, อุจจาระ, ขี้, เช่น หนึ่งน้ำมูตรกรีส ฤๅเกียจฤๅกีด คำคนติฉิน. (สรรพสิทธิ์). (ป.; ส. กรีษ); (แบบ) มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕ ศอก, ความจุเท่ากับ ๔ อัมพณะ คือ ประมาณ ๔๔ ทะนาน. (ลิปิ). (ป. กรีส; ส. กรฺษ).

ปัตถะ

หมายถึง[ปัดถะ] (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).

แล่ง

หมายถึงน. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน = ๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ