ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ป่อง, ฉ่อง, เสือกินวัว, ลวะ, ล่อง, ลู่, โอกาส, ท่อม ๆ, ผ่อง
ท่อง
หมายถึงก. เดินก้าวไปในนํ้า เช่น ท่องนํ้า; ว่าซํ้า ๆ ให้จำได้ เช่น ท่องหนังสือ.
ท่องสื่อ
หมายถึงน. ตำแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
ท่องจำ
หมายถึงก. ท่องบ่นจนจำได้, ท่องบ่นจนขึ้นใจ.
เล่ามนตร์
หมายถึงก. ท่องบ่นมนตร์สาธยายมนตร์.
ร่ำเรียน
หมายถึงก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.
สังวัธยาย
หมายถึง[-วัดทะ-] ก. ท่องบ่น, อ่านดัง ๆ เพื่อให้จำได้, สวดท่องให้จำได้. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).
ไล่แบบ
หมายถึงก. ให้นักเรียนท่องบทเรียนตามที่สั่งให้ฟัง เช่น ครูไล่แบบนักเรียน.
บ่น
หมายถึงก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่นภาวนา.
สมน้ำหน้า
หมายถึงว. คำแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้วที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
เล่าเรียน
หมายถึงก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหาความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
สาธยาย
หมายถึง[สาทะยาย, สาดทะยาย] น. การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).
อนุโลม
หมายถึงก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลำดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลำดับ. (ป., ส.).