ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อัศจรรย์
บทอัศจรรย์
หมายถึงน. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดยใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.
อัศจรรย์
หมายถึง[อัดสะจัน] ว. แปลก, ประหลาด. น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมีความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. (ส. อาศฺจรฺย; ป. อจฺฉริย).
บท,บท,บท-,บท-
หมายถึง[บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กำหนดคำประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คำที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คำประพันธ์ที่เขียนขึ้นสำหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคำเช่น บทจะทำก็ทำกันใหญ่ บทจะไปก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
หมายถึง(แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ). (ป. ปท).
บทลงโทษ
หมายถึงน. ข้อบัญญัติโทษทางอาญา.
ปาฏิหาริย์
หมายถึง[-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
บทภาชนีย์
หมายถึง[บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
กลอนบทละคร
หมายถึงน. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้องขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.
เข้าพระเข้านาง
หมายถึงก. แสดงบทเกี้ยวพาราสี.
บาท
หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท.
บทกลอน
หมายถึงน. คำประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง.
บทกวีนิพนธ์
หมายถึงน. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง.