ค้นเจอ 26 รายการ

ปรัชญา

หมายถึง[ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).

อันติมสัจ

หมายถึง[-มะสัด] (ปรัชญา) น. ความจริงขั้นสุดท้าย, ความจริงขั้นสูงสุด.

สาธย,สาธย-,สาธยะ

หมายถึง[-ทะยะ-] ว. ควรทำให้สำเร็จ. (ปรัชญา) น. สิ่งหรือเรื่องที่อนุมาน. (ส. สาธฺย).

ภารตวิทยา

หมายถึงน. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).

ปรมาตมัน

หมายถึง[ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็นต้นกำเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

จินตนิยม

หมายถึงน. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

ศักยภาพ

หมายถึง[สักกะยะพาบ] (ปรัชญา) น. ภาวะแฝง, อำนาจหรือคุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ อาจทำให้พัฒนาหรือให้ปรากฏเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ เช่น เขามีศักยภาพในการทำงานสูง น้ำตกขนาดใหญ่มีศักยภาพในการให้พลังงานได้มาก.

ศิลปศาสตร์

หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

สัจนิยม

หมายถึง[สัดจะ-] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).

อภิปรัชญา

หมายถึง[อะพิปฺรัดยา, อะพิปฺรัดชะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่ง ว่าด้วยความแท้จริง ซึ่งเป็นเนื้อหาสำคัญของปรัชญา. (อ. metaphysics).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ